แนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างรากฐานการผลิตที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและสมดุลเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาคมี ๔ แนวทางการพัฒนา
๑.๑ พัฒนาภาคการผลิต ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรและรายได้ของเกษตรกร
๑.๑.๑ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการใช้พันธุ์พืชและสัตว์ที่ดี การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยลดต้นทุนการผลิตแทนการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ การพัฒนาขีดความสามารของเกษตรกร และสถาบันการเกษตรในการดำเนินธุรกิจด้านการตลาด และการแปรรูปสินค้าเกษตร การสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็นมืออาชีพ
๑.๑.๒ เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดและระบบการขนส่ง โดยการส่งเสริมระบบตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าการส่งเสริมหลักประกันความเสี่ยง เช่น การประกันภัยพืชผล การประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้น และการพัฒนาโครงข่ายระบบการขนส่งสินค้าเกษตรทั้งในพื้นที่ชนบทและเมือง
๑.๑.๓ ส่งเสริมการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายวิสาหกิจในการเชื่อมโยงการผลิต การแปรรูป การตลาด และสนับสนุนการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า การพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีโอกาส เช่น เกษตรอินทรีย์และสินค้าอาหารจากสมุนไพร การผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีคุณภาพมาตรฐานสำหรับการอุปโภคและบริโภค
๑.๒ พัฒนาภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๑.๒.๑ พัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ โดยผ่านการพัฒนาระบบการศึกษา และการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้ การสั่งสมและการเผยแพร่ โดยให้มีช่องทางเข้าถึงแหล่งองค์ความรู้ ได้อย่างสะดวกตลอดจนมีการประสานความร่วมมือพัฒนาระหว่างภาครัฐและเอกชน
๑.๒.๒ เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้วยการใช้กฎระเบียบต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตอบสนองต่อมาตรการระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมทั้งกระแสเรียกร้องความรับผิดชอบต่อสังคมจากภาคอุตสาหกรรมทีขยายกว้างขึ้น
๑.๒.๓ เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเร่งสร้างความเข้มแข็งของปัจจัยพื้นฐานของการผลิต ประกอบด้วย การปรับปรุงกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ทั้งในด้านประสิทธิภาพ และมาตรฐานรวมทั้งการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้สามารถรองรับต่อกระแสทิศทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ที่มุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรองรับต่อกฎกติกาการค้าและการลงทุนในสภาวะแวดล้อมตลอดจนรองรับต่อกฎกติกาการค้าและการลงทุนในสภาวะแวดล้อมการแข่งขันในรูปแบบใหม่ๆ
๑.๒.๔ พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก โดยกำหนดมาตรการควบคุมและมาตรการจูงใจให้อุตสาหกรรมปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อาทิ การประหยัดพลังงาน การใช้เทคโนโลยีสะอาด การใช้อุปกรณ์ลดมลพิษ และการนำหลักการลดของเสีย การใช้ซ้ำ การนำมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse Recycle : ๓Rs) มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายการจัดการสิ่งแวดล้อมและการผังเมือง อย่างเข้มงวด ตลอดจนนำกฎหมายและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งด้านการเงินและการคลัง มาใช้ในการควบคุม การปล่อยมลพิษและเป็นแหล่งทุนสำหรับการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเงื่อนไขผ่อนปรน)
๑.๓ พัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
๑.๓.๑ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจในกลุ่มพื้นที่มีศักยภาพสูง และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของ
จังหวัด และกลุ่มจังหวัด อาทิ กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา กลุ่มมรดกโลก กลุ่มวัฒนธรรมขอม กลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ระดับสากล (ภาคตะวันออก) กลุ่มรอยัลโคสท์ (ภาคใต้ตอนบน) และกลุ่มอันดามัน (ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน) เป็นต้น
๑.๓.๒ เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความเชื่อมโยง ระหว่างธุรกิจหลัก ธุรกิจรอง ธุรกิจสนับสนุน และการพัฒนาเชื่อมโยงในเชิงกลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพ รวมทั้งการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน
๑.๓.๓ พัฒนาปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ได้แก่พัฒนามาตรฐานความปลอดภัยการพัฒนาเครือข่ายความเชื่อมโยงของระบบคมนาคม การจัดทำผังเมือง การพัฒนาคุณภาพบุคลากร การปรับปรุงกฎระเบียบและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เป็นต้น
๑.๔ พัฒนาภาคการผลิตสินค้าและบริการบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการให้สูงขึ้น
๑.๔.๑ ส่งเสริมการใช้ความสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ โดยพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของผู้ประกอบการไทยในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ให้มีจุดเด่น และสามารถต่อยอดด้วยความคิดและนวัตกรรม รวมทั้งสร้างความได้เปรียบจากความหลากหลายและเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมและความเป็นไทย และส่งเสริมและพัฒนาสาขาธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ เช่น graphic design designการผลิตซอฟแวร์ animationเกมส์ภาพยนตร์ แฟชั่น และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
๑.๔.๒ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ โดยเพิ่มมาตรการกระตุ้น ดึงดูดบริษัทข้ามชาติให้ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนและชุมชนและประยุกต์ใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์
ด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้สมัยใหม่ และเร่งพัฒนาระบบการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทางปัญญาเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาระบบฐานข้อมูล สื่อสารและคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมแหล่งเรียนรู้สาธารณะและพัฒนาพื้นที่สาธารณะรูปแบบต่างๆ ศึกษาและทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เอื้อต่อการพัฒนาการผลิตและบริการสร้างสรรค์ รวมทั้งผลักดันการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ
๑.๔.๓ พัฒนาบุคลากรให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิตและบริการทั้งในระดับวิชาชีพเชิงสร้างสรรค์และผู้ประกอบการให้มีความความคิดสร้างสรรค์ โดยสร้างระบบประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับภาคการผลิตให้ตอบสนองต่อความต้องการภาคเอกชน
๑.๔.๔ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงลึกในสาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และทุนวัฒนธรรม (๕ ประเภท คือ ๑.มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญารวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ๒.เอกลักษณ์ ศิลปะ และวัฒนธรรม ๓.งานช่างฝีมือและหัตถกรรม ๔.อุตสาหกรรมสื่อ บันเทิง และซอฟต์แวร์ ๕.การออกแบบและพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์ให้สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและนำผลิตภัณฑ์และบริการสู่ตลาด
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การค้าและการลงทุนในประเทศ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค มีแนวทางการพัฒนา ๙ แนวทางการพัฒนา ดังนี้
๒.๑ เร่งปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจและกฎ ระเบียบต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการค้า การลงทุนอย่างเป็นธรรม และผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรี เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศรวมทั้งจัดทำกรอบแนวทางมาตรการตามกฎหมาย เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการบังคับใช้กฎหมายของผู้ปฏิบัติให้มีความเป็นเอกภาพและเสมอภาค ตลอดจนพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ๆ ที่รองรับการเปิดเสรีทางการค้า
๒.๒ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยปรับปรุงกลไกและแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนในการสร้างองค์ความรู้ด้วยการดำเนินการวิจัยและพัฒนา หรือต่อยอดจากความสามารถทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาครัฐในการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ และแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างประสิทธิภาพ
๒.๓ เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้ทั่วถึงและเพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในลักษณะของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน อาทิ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์บ่อเพาะสถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในรูปแบบของการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster)
๒.๔ เสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการตลาดและการกระจายผลผลิตไปสู่ตลาด โดยส่งเสริมภาคเอกชนในการกระจายสินค้าไทยร่วมกับกลุ่มเศรษฐกิจและประเทศต่างๆ ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี การผนึกพลังร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐในต่างประเทศ การสร้างโอกาสทางการตลาด และดูแลรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร ให้เกษตรกรรมมีรายได้เพิ่มขึ้น ร่วมทั้งการพัฒนาการให้บริการของกิจการคลังสินค้าไซโล และห้องเย็น ตลอดจนการพัฒนาสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของตนเองที่เน้นคุณภาพและมาตรฐานมีการวางระบบการขายและกระจายสินค้าอย่างครบถ้วน
๒.๕ ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการขยายการลงทุนไปสู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน โดยการสร้างตราสัญลักษณ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจโดยการหาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศ
๒.๖ ผลักดันการจัดทำความตกลงการค้าเสรี และเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว โดยมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
๒.๗ เร่งดำเนินการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาคอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และพัฒนาความร่วมมือในลักษณะเกื้อกูลกัน เพื่อใช้เป็นกลที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้าหลักของไทยในอนาคต
๒.๘ ส่งเสริมการเชื่อมโยงและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในภูมิภาค โดยการกระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ กับประเทศในภูมิภาค เช่น ระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และแนวเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ระบบสายส่งพลังงานไฟฟ้า ระบบสื่อสารเป็นต้น ร่วมทั้งเร่งปรับปรุงระบบอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งสินค้าข้ามแดนในพื้นที่บริเวณชายแดนที่สำคัญ
๒.๙ พัฒนาเมืองเศรษฐกิจชายแดนให้มีประสิทธิผลอย่างจริงจังตามลำดับความสำคัญและความพร้อมของพื้นที่ โดยคำนึงถึงศักยภาพด้านกายภาพเศรษฐกิจและสังคม นโยบายรัฐบาล การมีส่วนร่วมและการได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงของประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ การมีมูลค่าการค้าและการท่องเที่ยวสูงโดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า ตลอดจนความพร้อมของพื้นที่เมืองชายแดนในประเทศเพื่อนบ้านที่ตั้งอยู่ตรงข้าม และเป็นพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ มีแนวเขตระหว่างประเทศที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับของทั้งสองประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาคุณภาพคนให้เหมาะสมตามช่วงอายุมีแนวทางการพัฒนา ๓ แนวทาง ดังนี้
๓.๑ ส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ มีการกระจายตัวที่สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ โดยการกำหนดนโยบายประชากรที่เน้นมาตรการเชิงคุณภาพที่หลากหลายและมีความเชื่อมโยง อาทิ การส่งเสริมการเกิดที่มี
คุณภาพการรักษาระดับภาวะเจริญพันธุให้อยู่ในระดับทดแทน การสนับสนุนการกระจายตัวของประชาชนที่เหมาะสมโดยให้มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง
๓.๒ พัฒนาทุนมนุษย์ให้เข้มแข็ง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต โดยการเสริมสร้างความรู้พื้นฐานที่มีคุณภาพ เรียนรู้ทักษะชีวิตที่เหมาะสม มีความรู้ ความชำนาญในศาสตร์วิทยาการ ได้รับการพัฒนาต่อยอดตามศักยภาพและความถนัดอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นผู้ที่มีความพร้อมในจิตสาธารณะ ๕ ประการ คือ จิตแห่งวิทยาการ ที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น มีจิตแห่งการสังเคราะห์ คือ “การสั่งสมต่อยอด และสร้างนวัตกรรมความรู้” มีจิตแห่งการสร้างสรรค์ ด้วยการหมั่นฝึกฝน มีจิตแห่งความเคารพ ที่พร้อมเปิดใจกว้างรับฟังทุกความคิดเห็น และมีจิตแห่งคุณธรรม ที่มีความรู้คู่คุณธรรมนำการพัฒนา
๓.๓ เพิ่มผลิตภาพทางสังคมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ โดยเสริมสร้างบทบาทครอบครัว ชุมชน ศาสนสถานให้เข้มแข็ง มีสัมพันธภาพที่ดี สร้างค่านิยมให้สังคม หน่วยงาน องค์กรทุกระดับมีความไว้วางใจ ความร่วมมือร่วมใจ การทำงานเป็นเครือข่ายเอื้อต่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ให้สามารถพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในบริบทสังคมไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่กับการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการสร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์ขององค์กรและผลประโยชน์ของชุมชนและสังคม ควบคุมการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสังคม และการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับภาคชุมชนในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเงื่อนไขของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การปรับโครงสร้างทางสังคมให้เป็นสังคมที่มั่นคง เป็นธรรม มีพลัง และเอื้ออาทร มีแนวทางการพัฒนา ๔ แนวทางดังนี้
๔.๑ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ ตั้งแต่วัยทำงาน ด้วยการส่งเสริมการออมในชุมชน การจัดบริการทางสังคมให้ มีคุณภาพมาตรฐานที่มุ่งการสร้างศักยภาพการคิดสร้างสรรค์การวิจัยและพัฒนาและการสร้างนวัตกรรม การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี การสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๔.๒ สร้างโอกาสอย่างเป็นธรรม ให้คนสามรถเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพได้อย่างทั่วถึง ทั้งบริการด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม กระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ถูกกีดกันและแบ่งแยกโดยเฉพาะในกลุ่มคนยากจนและผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล
๔.๓ เสริมสร้างพลังทางสังคม ที่เอื้อให้คนมีโอกาสในการแสดงออกและมีอิสระทางความคิด สามารถเลือกและตัดสินใจในการดำรงชีวิตด้วยตนเอง ระดับบุคคลเน้นการพัฒนาความสามารถโดยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารได้อย่างทั่วถึงเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถนำความรู้มาใช้ในการดำรงชีวิตที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยต่าง ๆ ระดับชุมชน เน้นการสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพัฒนาและบริการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
๔.๔ สร้างความเอื้ออาทรในสังคม โดยการเสริมสร้างทุนทางสังคมและความสัมพันธ์ของคนในสังคม มีการเคารพสิทธิซึ่งกันและกันในการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความเชื่อและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีค่านิยมหรือจารีตร่วมกันมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันแบ่งปันและเอื้ออาทร และความร่วมมือ ร่วมใจที่สามารถถักทอให้เกิดเป็นเครือข่ายทางสังคม รวมถึงมีความภาคภูมิใจในความเป็นตัวตนของตนเอง และเอกลักษณ์ของชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การเป็นเศรษฐกิจและสังคมสีเขียว มีแนวทางการพัฒนา ๗ แนวทาง ดังนี้
๕.๑ การปรับพฤติกรรมการบริโภคของสังคมสู่รูปแบบการบริโภคอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการส่งเสริมการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการปลูกฝังจิตสำนึก สร้างค่านิยมในการดำเนินชีวิต และองค์ความรู้เรื่องการบริโภคที่ยั่งยืนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถและสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ พัฒนาระบบเผยแพร่และรับรู้ข้อมูลข่าวสารของภาค
ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบของการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน หรือการใช้สินค้าที่ปล่อยมลพิษสูงในกระบวนการผลิตการสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกจากประชาชนผู้บริโภคและภาคส่วนต่างๆ พัฒนาระบบการใช้ฉลากคาร์บอน และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ติดกับสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มาจากกรผลิตที่ลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนให้ความสำคัญอย่างจริงจังและต่อเนื่องกับการดำเนินงานด้านการจัดการและควบคุมมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและการบริโภค รวมถึงการจัดการขยะและของเสีย ทั้งในระดับพื้นที่และชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
๕.๒ ส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการจากทรัพยากรชีวภาพที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้วัตถุดิบที่ปลอดสารพิษ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่สะอาด เพื่อพัฒนาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มยกระดับการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้าตลอดห่วงโซ่การผลิต
๕.๓ เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ โดยอาศัยกลไกการลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (Reducing Emissinos from Deforeststion and Degadation in Developing Coountries – REDD) และการใช้กลไกตลาดเพื่อสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจให้มีการดูแลรักษาระบบนิเวศน์ (Payment for Enviornmental Services – PES)
๕.๔ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร (ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ ชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งแร่และพลังงานโดยให้มีการประเมินมูลค่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือกำหนดนโยบายตามขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศน์ และการใช้ประโยชน์ของคนรุ่นใหม่
๕.๕ คุ้มครองพื้นที่เปราะบางของระบบนิเวศน์และพื้นที่วิกฤตที่สำคัญ รวมทั้งคุ้มครองชุมชนพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่โดยให้มีการพัฒนาระบบติดตาม ตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์สำคัญในระดับพื้นที่ และกำหนดมาตรการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์จากแผนงาน/โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ กำหนดมาตรฐานการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับประเด็นวิกฤติ ทั้งเรื่องวิกฤติพืช อาหาร พลังงาน ภาวะโลกร้อน และการขยายตัวของเมือง โดยใช้มาตรการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Zoning) วางแผนและกำหนดมาตรการใช้ประโยชน์ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่คุ้มครองพื้นที่ทำการเกษตรที่มีศักยภาพ พื้นที่ชลประทาน พื้นที่เพาะปลูกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ทุเรียนเมืองนนท์ ฯลฯ
๕.๖ เตรียมการเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น จากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพกายภาพของผิวโลก เช่น แผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ อุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง ดินถล่ม ฯลฯ ทั้งที่เป็นการปรับตัวเพื่อการเตรียมการาบล่วงหน้า หรือเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาภายหลังจากได้รับผลกระทบ โดยมุ่งเน้นการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการเตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบต่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีความอ่อนไหว ชนิดพืชและพันธุ์สัตว์ผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความเสี่ยง หรือป้องกันผลกระทบ หรือหลีกเลี่ยงพื้นที่เสียงภัย เป็นต้น
๕.๗ การผังเมือง ให้ความสำคัญกับการวางผังเมืองที่ผสมผสานระบบนิเวศน์เข้าด้วยกัน การพัฒนาต้นแบบ Green City โดยกำหนดมาตรการจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ทั้งการเงิน การคลัง การปรับระบบภาษี และมาตรการทางการตลาดรวมถึงการวางแผนพัฒนาเมืองและชุมชน และการพัฒนาอาคาร ที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงานตลอดจนการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความเสี่ยงจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่น้ำท่วม พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง และการตั้งถิ่นฐานประชาชนในพื้นที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การสร้างความสมดุลและมันคงของพลังงานและอาหาร มีแนวทางการพัฒนา ๔ แนวทาง ดังนี้
๖.๑ ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อกระจายการพึ่งพาแหล่งพลังงานให้มีความหลากหลายมากขึ้น การสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและ
ชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ภายในมาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
๖.๒ สนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงาน โดยการพัฒนาระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ที่เชื่อมโยงการขนส่ง ทางถนน ทางราง รางน้ำ และทางอากาศอย่างเป็นระบบพร้อมทั้งพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่ง เช่น สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าในภูมิภาค เป็นต้น
๖.๓ รักษาความสมดุลของการผลิตพืชอาหารและพืชพลังงาน โดยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพืชพันธุ์ดี และการส่งเสริมการผลิตพืชที่ใช้เป็นอาคารและพลังงานให้เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ฟื้นฟูและบำรุงรักษาดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เอื้อต่อการผลิตภาคเกษตร กำหนดมาตรการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพและภาครัฐได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรไว้แล้ว เช่นระบบชลประทาน ถนน เป็นต้น
๖.๔ เพิ่มความมั่นคงด้านอาหารในระดับครัวเรือน โดยส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืน และเกษตรทฤษฎีใหม่บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๗.ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของภาคและพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนมีแนวทางการพัฒนา ๓ แนวทาง ดังนี้
๗.๑ แนวทางการพัฒนาภาคในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑
๗.๑.๑ การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจของภาคให้มีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง ปรับโครงสร้างและกระบวนการผลิตให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงตามศักยภาพของพื้นที่ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีงานทำที่มั่นคงและพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานให้สูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนในแต่ละภาคมีรายได้พอเพียง มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญในแต่ละภาค ดังนี้
๗.๑.๒ การพัฒนาคน ชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยพัฒนาศักยภาพคนและสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งสุขภาพอนามัย กายและจิตใจ การศึกษาและการเรียนรู้ความอบอุ่นในครอบครัวและสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการพัฒนาคนและชุมชน โดยมีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญในแต่ละภาค ดังนี้
๗.๑.๒.๑ ภาคเหนือ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผสมผสานการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นจัดการการศึกษาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการ ควบคู่กับการจัดระบบแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง รวมทั้งป้องกันปัญหาทางสังคมและความมั่นคง ฯลฯ
๗.๑.๓ การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า และป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติและสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มรุนแรง โดยมีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญในแต่ละภาค ดังนี้
๗.๑.๓.๑ ภาคเหนือ อนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ ต้นน้ำ และดินให้สมบูรณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยเฉพาะภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม ดินและโคลนถล่ม และปัญหาหมอกควัน โดย
สนับสนุนบทบาทโดยเฉพาะภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม ดินและโคลนถล่ม และปัญหาหมอกควัน โดยสนับสนุนบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายชุมชนในการร่วมกันจัดการและแก้ไขปัญหาสนับสนุนการจัดการพื้นที่เมืองและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพมุ่งสู่การเป็น ECO – City / ECO – TOWN พร้อมทั้งพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพที่เน้นการจัดการองค์ความรู้ผสมผสานต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยและพัฒนาให้เกิดวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรและพืชผลเกษตรพื้นบ้าน
๗.๒ แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจหลัก
๗.๒.๑ พัฒนาเมืองโดยเน้นประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้มีขอบข่ายกว้างขวางในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ที่ดิน และน้ำ ภายใต้แนวทางหลัก ๕ ประการ คือ ๑.การพัฒนาเมืองกระชับที่สมบูรณ์ในตนเอง (Compact city) หรือเมืองใหญ่แบบหลายศูนย์กลาง ๒.การพัฒนาชุมชนที่เดินสะดวกพร้อมระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเชื่อมโยงภายในและภายนอก เช่น BRT รถเมล์ รถไฟ ที่ทุกคนรวมถึงคนพิการ และผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ๓.การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่น พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ป่า ชายเลน ๔.การอนุรักษ์คูคลองแหล่งน้ำ พื้นที่แก้มลิง และพื้นที่ชายทะเล ๕.การจัดการขยะชุมชนโดยวิธี Reduce Reuse และ Recycle
๗.๒.๒ พัฒนากรุงเทพมหานครและเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคให้เป็นเมืองเศรษฐกิจฐานความรู้และสร้างสรรค์ เพื่อสร้าง “บรรยากาศแห่งความคิดสร้างสรรค์” ที่มีคุณภาพ สามารถดึงดูดนักคิดนักสร้างสรรค์ และสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้ประชาชน โดย
๗.๒.๒.๑ รักษาปัจจัยที่จำเป็นลำดับต้นๆ ได้แก่ ๑.การเชื่อมโยงต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมเข้ากับพื้นที่ของเมืองเพื่อรังสรรค์ความน่าสนใจใหม่ให้เมือง ๒.การเป็นศูนย์รวมของสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ธนาคาร ร้านค้า ร้านอาหาร แหล่งบันเทิง แหล่งความรู้ ๓.การเชื่อมโยงผู้คนด้วยทางเท้าที่มีชีวิตชีวา ๔.การมีลานหรือพื้นที่สาธารณะที่ทำให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ๕.การมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีมารองรับ ๖.ความสะอาด ความสงบและความปลอดภัย ๗.มาตรการจูงใจทางภาษีและเงินทุนที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ ๗.การให้ความรู้และเทคโนโลยี รวมทั้งบริการพิเศษที่รัฐบาลและส่วนท้องถิ่นจัดให้ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อสร้างเสริมทุนทางสังคมของเมือง เช่น ฟรี Wi-Fi ห้องสมุดสมัยใหม่
๗.๒.๒.๒ จัดกิจกรรมและพื้นที่สาธารณะที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “คน”กับ”เมือง” สร้างแรงบันดาลใจที่บูรณา